นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจราชการกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา และสตูล) เร่งพัฒนาโครงข่ายด้านน้ำ เชื่อมโยงภาคีการพัฒนา หวังสร้างความเชื่อมั่น รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความต้องการด้านน้ำในอนาคตเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ลงพื้นที่ชุมชนโต๊ะบาหลิว อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ เพื่อพบปะและรับฟังปัญหาของชาวเลในพื้นที่ ก่อนเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2567 ณ จ.ระนอง ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า ในปี 61-65 ที่ผ่านมา สทนช.ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนแผนงานและโครงการด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่ ซึ่งมีผลการดำเนินงานจำนวน807 โครงการความจุ 8.12 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 64,017.66 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 102,130 ครัวเรือน พื้นที่ได้รับการป้องกัน 16,500.25 ไร่ และเขื่อนป้องกันตลิ่งระยะทาง 43,100 เมตร อาทิ เพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบท่อรวบรวมน้ำเสีย จ.กระบี่, คลองผันน้ำพร้อมอาคารประกอบ โครงการระบบระบายน้ำแม่น้ำตรัง จ.ตรัง, ระบบระบายน้ำหลักพื้นที่ชุมชนทุ่งสง ระยะที่ 1 จ.นครศรีธรรมราช, สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านปลักมาลัย จ.สตูล และก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งคลองละงู หมู่ที่ 15 จ.สตูล เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีแผนงานโครงการด้านทรัพยากรน้ำ ภายใต้แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตามพระราชบัญญัติงบประมาณปี 66จำนวน 57 โครงการพื้นที่รับประโยชน์ 12,875 ไร่ พื้นที่ได้รับการป้องกัน 8,144 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 29,033 ครัวเรือน และเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกัก 6.0832 ล้าน ลบ.ม. อาทิ เพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสีย เกาะพีพี ต. อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ในส่วนงบบูรฯ ตาม พรบ. ปี 67 มีทั้งสิ้น 564 โครงการ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว สามารถเพิ่มความจุกักเก็บ 4.23 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 11,356 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 47,867 ครัวเรือน พื้นที่ได้รับการป้องกัน 7,852 ไร่ และสามารถป้องกันตลิ่งได้ 36,817 “สำหรับกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีฐานทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวระดับโลก ดังนั้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับความต้องการใช้น้ำ จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต จึงจำเป็นต้องศึกษาปริมาณความต้องการใช้น้ำอย่างรอบคอบวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ ทั้งการปรับปรุงคุณภาพน้ำ การเพิ่มศักยภาพแหล่งน้ำดิบและโครงข่ายด้านน้ำเพื่อเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาในด้านต่างๆ ให้ครอบคลุมแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดอันจะรองรับความต้องการใช้น้ำในอนาคตอย่างยั่งยืนต่อไป”

ที่มา : สวท.กระบี่ /เรียบเรียง : ศิรินาฎ สักจันทร์


image รูปภาพ
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar