รฟม.เสนอทางเลือกระบบขนส่งมวลชนภูเก็ตเพิ่มเติม เป็นระบบขับเคลื่อนด้วยล้อยาง Guided Tram และATR ลดค่าใช้จ่ายโครงการ

          นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยกับสื่อมวลชนในการประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น (เพิ่มเติม) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง โดยกล่าวว่า ระบบรถไฟฟ้าจากเดิมที่ สนข.มีการศึกษาไว้ เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา ขับเคลื่อนด้วยล้อเหล็ก โดยวันนี้มีการเสนอเพิ่มเติมที่เหมาะสมกับโครงการ คือ ระบบขับเคลื่อนด้วยล้อยาง Guided Tram และ ART ซึ่งเป็นระบบใหม่ และถ้าจะให้มองว่ารูปแบบใดเหมาะสมที่สุด เห็นว่า ระบบ ART ค่อนข้างเหมาะสมที่สุด เนื่องจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของโครงการลงได้ ซึ่งจากเดิมงบประมาณอยู่ที่ 3 หมื่นล้านบาทเศษ แต่หากเป็นระบบ ART ได้ จะเหลือไม่เกิน 2 หมื่นล้านบาท โดยยืนยันว่าโครงการระบบขนส่งมวลชนของภูเก็ตสามารถเป็นไปได้อย่างแน่นอน 
          นอกจากนี้ ในการประชุมครั้งนี้มีการนําเสนอผลการเปรียบเทียบแผนการดําเนินโครงการฯ และแผนการบูรณาการ ร่วมกับโครงการก่อสร้างทางพิเศษ สายกะทู้ - ป่าตอง ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่มีแผนจะเปิดใช้ ทางคู่ขนาน (Service Road) ในระหว่างการก่อสร้างโครงการฯ ในปี 2559 ซึ่งการบูรณาการร่วมกันดังกล่าวจะสามารถบรรเทาและลดผลกระทบการจราจรระหว่างการก่อสร้างโครงการฯ บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 (ถนนเทพกระษัตรี) ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้ พร้อมกันนี้ ยังเปิดโอกาสให้ชาวจังหวัดภูเก็ต และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วน เสียในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อทางเลือกการดําเนินโครงการฯ ซึ่ง รฟม. จะนําข้อมูลที่ได้รับจากการประชุมในครั้งนี้ ไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดําเนินงานโครงการต่อไป 
          สําหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต แบ่งการดําเนินงานออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง มีระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร และระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น - เมืองใหม่ มีระยะทางประมาณ 16.5 กิโลเมตร ซึ่ง รฟม. จะเริ่มดําเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 เป็นลําดับแรก 
          โดยที่ผ่านมา รฟม. ได้ดําเนินการจัดงานสัมมนาทดสอบความสนใจของภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Market Sounding) จํานวนทั้งสิ้น 2 ครั้ง ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดภูเก็ต รวมทั้ง ได้ทบทวนผลการศึกษาเดิมของ สนข. และหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงรูปแบบโครงการให้เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและ มาตรฐาน พร้อมรองรับการเดินทางและการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตในอนาคต

ที่มา : NBTภูเก็ต



คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar